ข้อบังคับของชมรมร้านขายยาจังหวัดลำปาง

ข้อบังคับของชมรมร้านขายยาจังหวัดลำปาง
หมวดที่ 1
ความรู้ทั่วไป
ข้อ 1 ชื่อของชมรม ชมรมนี้มีชื่อว่า “ชมรมร้านขายยาจังหวัดลำปาง” เขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “Lampang Dispensary Association ” เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “ลำปาง ดิสเพนซารี แอสโซซิเอชั่น” คำว่า ชมรม ต่อไปในข้อบังคับนี้ให้หมายความว่า “ชมรมร้านขายยาจังหวัดลำปาง”
ข้อ 2 สำนักงานของชมรม สำนักงานของชมรมนี้ ตั้งอยู่ ณ (สำนักงานชั่วคราวตั้งอยู่ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จังหวัดลำปาง)
ข้อ 3 ตราของชมรม ตราของชมรมนี้มีเครื่องหมายเป็น ด้านกรอบรูป มีข้อความว่า เป็นอักษรไทย และอังกฤษ อยู่ในขอบของ ทั้งสองด้าน และมี


หมวดที่ 2
วัตถุประสงค์
ข้อ 4 วัตถุประสงค์ของชมรม ชมรมมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1 ส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เพื่อประโยชน์ในทางการค้า การเงิน เศรษฐกิจ ความรู้ความเข้าใจด้านผลิตภัณฑ์ กฏหมาย แก่สมาชิก เช่นรวบรวมสถิติ เผยแพร่ข่าว ข่าวสารการค้า วิจัยเกี่ยวกับการค้าและเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์ใหม่ กฏหมายใหม่ๆ
2 ส่งเสริมการท่องเที่ยว
3 ออกใบรับรอง วางมาตรฐาน การตรวจสอบ หรือการรับมอบอำนาจดำเนินการดังกล่าวจากผู้ที่ หรือส่วนราชการที่ เกี่ยวข้อง
4 สนับสนุน ดำเนินการอบรม ส่วนที่เกี่ยวข้องกับความรู้ การจัดงานแสดง
5 รับปรึกษาและให้คำแนะนำแก่สมาชิกเกี่ยวกับการค้า การเงินหรือเศรษฐกิจและช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำเนินธุรกิจของสมาชิก
6 ประสานงานในทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการค้ากับทางราชการ
7 เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมในการกุศลและสาธารณสงเคราะห์
8 ปฎิบัติกิจการอื่นตามแต่จะมีกฎหมายระบุหรือตามที่ทางราชการมอบให้
9 ไม่ประกอบกิจการค้าหรือไม่ดำเนินการทางการเมืองอย่างใดทั้งสิ้น

หมวดที่ 3
สมาชิกและสมาชิกภาพ
ข้อ 5 ประเภทสมาชิก สมาชิกของชมรม แบ่งเป็น 4 ประเภท คือสมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ สมาชิกสมทบ และสมาชิกกิติมศักดิ์
ข้อ 6 คุณสมบัติของสมาชิก
6.1 สมาชิกสามัญ ได้แก่บุคคลธรรมดาสัญชาติไทย หรือนิติบุคคล สมาคม รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์ ทั้งนี้ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดลำปางและอยู่ในธุรกิจการขายยา
6.2 สมาชิกวิสามัญ ได้แก่บุคคลธรรมดาสัญชาติไทย หรือนิติบุคคล ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับสมาชิกสามัญ แต่ไม่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญ
6.3 สมาชิกสมทบ ได้แก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่มิได้มีสัญชาติไทยและประกอบธุรกิจยา
6.4 สมาชิกกิติมศักดิ์ ได้แก่อดีตประธานชมรม กรรมการชมรม หรือผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีอุปการคุณแก่ชมรม ซึ่งมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับสมาชิกชมรม

ข้อ 7. คุณลักษณะของผู้ที่จะเป็นสมาชิก นอกจากมีคุณสมบัติตามกำหนดไว้ในข้อ 6แล้ว ผู้จะเข้าเป็นสมาชิกของชมรมยังจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะดังต่อไปนี้ด้วย คือ
(1) ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา
1 เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
2 ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือบุคคลไร้ความสามารถ หรือบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ
3 ไม่เคยเป็นบุคลลที่เคยต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลมาก่อน เว้นแต่ความผิดที่มีกำหนดโทษขั้นลหุโทษ หรือความผิดซึ่งกระทำโดย ประมาท ทั้งนี้เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากคณะกรรมการของชมรมเป็นกรณีพิเศษ
4 ไม่เป็นโรคอันพึงรังเกียจแก่สังคม
5 เป็นผู้มีฐานะมั่นคงพอสมควร
6 เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
(2) ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล
1 ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
2 มีฐานะมั่นคงพอสมควร
ให้นำความในข้อ(1) บังคับแก่คุณลักษณะของผู้แทนนิติบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่เป็นสมาชิกตามข้อ (1)ด้วย
ข้อ 8 การสมัครเข้าเป็นสมาชิก ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ หรือสมาชิกสมทบของชมรม จะต้องยื่นความจำนงค์ต่อประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนประธานชมรม ตามแบบพิมพ์ที่ชมรมได้กำหนดไว้โดยมีสมาชิกสามัญของชมรมเป็นผู้รับรองอย่างน้อย 2 คน
ข้อ 9 การพิจารณาคำขอสมัครเข้าเป็นสมาชิก ให้ประธานชมรมหรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนประธานชมรมนำใบสมัครเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการของชมรมในคราวต่อไป ครั้งแรกที่ได้รับใบสมัคร เมื่อคณะกรรมการมีมติให้รับหรือไม่รับผู้ใดเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ให้ประธานชมรมมีหนังสือแจ้งให้ผู้สมัครผู้นั้นทราบภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้ลงมติ
หนังสือแจ้งดังกล่าวในวรรคแรก จะต้องจัดส่งเป็นจดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ที่ผยู่ของผู้สมัครที่ปรากฏอยู่ในใบสมัคร
ในกรณีที่มีมติให้รับ ผู้สมัครจะต้องชำระค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิกและค่าบำรุงชมรม ภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งดังกล่าว
ข้อ 10 วันเริ่มสมาชิกภาพ สมาชิกภาพเริ่มตั้งแต่วันที่ผู้สมัครชำระค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิกและค่าบำรุงประจำปีของชมรมเรียบร้อยแล้ว
ข้อ 11 สมาชิกที่เป็นนิติบุตคล สมาชิกที่เป็นนิติบุคคลจะต้องให้ผู้ที่มีอำนาจของนิติบุคคล หรืออาจแต่งตั้งผู้แทนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาให้มีอำนาจเต็มกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นได้ไม่เกิน 1 คน เพื่อปฏิบัตในหน้าที่และใช้สิทธิแทนนิติบุคคลนั้น ในการนี้ผู้แทนจะมอบให้บุคคลอื่นกระทำแทนหรือแต่งตั้งตัวแทนช่วงมิได้
ผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนนิติบุคคลตามวรรคแรก จะเป็นผู้แทนของนิติบุคคลได้เพียง 1 ครั้งหรือ 1 วาระเท่านั้น
ข้อ 12 การขาดจากสมาชิกภาพ สมาชิกภาพย่อมสิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
1 ตาย (เว้นแต่ผู้แทนสมาชิกตามข้อ11ตาย) หรือสิ้นสภาพนิติบุคคล
2 ขาดคุณสมบัติตามข้อ 6.1 หรือ 6.2 แล้วแต่กรณี
3 ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อคณะกรรมการของชมรม และได้ชำระหนี้สินที่ค้างชำระแก่ชมรมเรียบร้อยแล้ว
4 ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย
5 ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ
6 ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ ลงโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่กำหนดโทษชั้นลหุโทษ หรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
7 คณะกรรมการชมรม ลงมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียนสมาชิก โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้
(1) เจตนากระทำการใดๆที่ทำให้ชมรมเสื่อมเสียชื่อเสียง
(2) เจตนาละเมิดข้อบังคับ
(3) ไม่ชำระค่าบำรุงประจำปีและได้รับใบเตือนจากเจ้าหน้าที่ครบ 30 วันแล้ว โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
ข้อ 13 ทะเบียนสมาชิก ให้นายทะเบียนชมรมจัดทำทะเบียนสมาชิกเก็บไว้ ณ สำนักงานของชมรม โดยมีรายการดังนี้ ลำดับที่ วัน เดือนปี ชื่อสมาชิก ชื่อร้านขายยา ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์

หมวดที่ 4
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
ข้อ 14 สิทธิของสมาชิก
1 ได้รับความช่วยเหลือและการสงเคราะห์ในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการอันอยู่ในวัตถุประสงค์ของชมรม จากชมรมเท่าที่จะอำนวยได้
2 เสนอความคิดเห็น หรือให้คำแนะนำต่อชมรม หรือคณะกรรมการของชมรมในเรื่องใดๆ อันอยู่ในวัตถุประสงค์ของชมรม เพื่อนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของชมรม
3 ตรวจสอบกิจการ และทรัพย์สินของชมรมได้ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธานชมรม หรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนประธานชมรม
4 เข้าร่วมประชุมอภิปราย แสดงความคิดเห็น ซักถามกรรมการ เสนอญัตติในการประชุมสามัญประจำปี หรือการประชุมใหญ่วิสามัญ
5 มีสิทธิประดับเครื่องหมายของชมรม
6 สมาชิกสามัยเท่านั้น มีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือในที่ประชุมวิสามัญ หรือในการรับเลือกตั้งเป็นกรรมการของชมรม
ข้อ 15 หน้าที่ของสมาชิก
1 ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ คำสั่งของชมรม มติของที่ประชุมใหญ่มติของคณะกรรมการของชมรม และหน้าที่ของตนเอง ตามที่ชมรมมอบให้ด้วยความซื่อสัตย์ เคร่งครัด
2 ดำรงรักษาเกียรติและผลประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสียของชมรมตลอดจนรักษาความลับในข้อประชุมหรือพิธีการของชมรม ห้ามเปิดเผยข้อความซึ่งอาจนำความเสื่อมเสียมาสู่ชมรมโดยเด็ดขาด
3 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของชมรมให้รุ่งเรือง และมีความก้าวหน้าอยู่เสมอ
4 ต้องรักษาไว้ซึ่งความสามัคคีธรรมระหว่างสมาชิก และปฏิบัติกิจการค้าในทำนองช่วยเหลือกันด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
5 ชำระค่าบำรุงให้แก่ชมรมตามกำหนด
6 สมาชิกผู้ได้เปลี่ยนนาม นามสกุล สัญชาติ ย้ายที่อยู่ ย้ายที่ตั้งสำหักงาน หรือเปลี่ยนแปลงประเภท หรือผู้แทนนิติบุคคล จะต้องแจ้งให้ประธานชมรมทราบเป็นหนังสือภายในกำหนดเวลา 7 วันนับแต่เปลี่ยนแปลง

หมวดที่ 5
ค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิก และค่าบำรุงชมรม
ข้อ 16 ค่าลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิก และค่าบำรุงชมรม ให้คณะกรรมการของชมรม พิจารณาและกำหนดค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงชมรมประจำปี ตามความเหมาะสม เสนอขออนุมัติจากที่ประชุมประจำปี คะแนนเสียงอนุมัติต้องเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
ข้อ 17 ค่าบำรุงพิเศษ ที่ประชุมใหญ่สมาชิกอาจสลมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสามัญทั้งหมด ให้กำหนดโครงการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ชมรมจะจัดทำ ซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของชมรมและมอบให้กรรมการของชมรมลงมติกำหนดจำนวนเงินเรียกเก็บจากสมาชิกสามัญเป็นคราวๆเพื่อการนั้นก็ได้

หมวดที่ 6
คณะกรรมการของชมรม
ข้อ 18 การเลือกตั้งกรรมการของชมรม ให้มีคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เป็นผู้บริหารงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของชมรม และเป็นผู้แทนของชมรมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ประกอบด้วยสมาชิกสามัญ ซึ่งได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คนแต่ไม่เกิน 25 คน
ผู้ที่ประสงค์จะสมัครเป็นกรรมการ จะต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนสมาชิกสามัญของชมรมหรือได้รับการเสนอชื่อ โดยต้องแนบใบเสนอรายชื่อ พร้อมใบสมัครกรรมการ
เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่ครั้งนั้นๆจะมีมติเป็นอย่างอื่น การเลือกตั้งกรรมการให้กระทำด้วยวิธีนับคะแนนลับ โดยให้สมาชิกสามัญหรือวิสามัญ หรือสมาชิกสมทบ เสนอนามของสมาชิกสามัญซึ่งตนประสงค์ จะให้เข้ารับสมัครเลือกตั้งเป็นกรรมการต่อที่ประชุมใหย่ โดยมีสมาชิกสามัญอื่นรับรองไม่น้อยกว่า 2 คน แล้วให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติเลือกตั้งให้ผู้ได้รับคะแนนสูงตามลำดับได้เป็นกรรมการเท่าหรือน้อยกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในวรรคแรกก และตามมติที่ประชุมครั้งนั้นๆ ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนเท่ากันในลำดับสุดท้ายที่จะได้เป็นกรรมการคราวนั้น ให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติใหม่เฉพาะผู้ที่ได้คะแนนเท่ากัน หากปรากฏว่าได้คะแนนเท่ากันอีก ให้ใช้วิธีจับฉลาก
ให้คณะกรรมการของชมรมเลือกตั้งกันเองเพื่อดำรงตำแหน่งประธานกรรมการชมรม 1 คน รองประธาน กรรมการชมรม เลขาธิการชมรม เหรัญญิกชมรม นายทะเบียนชมรม ปฏิคมชมรม ประชาสัมพันธ์ชมรมและตำแหน่งอื่นที่จะกำหนดหน้าที่ตามที่เห็นสมควร และให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน
ผู้ที่จะเป็นประธานชมรมร้านขายยาจังหวัดลำปาง จะต้องเคยเป็นกรรมการชมรมร้านขายยาจังหวัดลำปางมาก่อน
คณะกรรมการของชมรมให้ดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปั
กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งกรรมการไปแล้ว อาจได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการอีกได้
สมาชิกผู้หนึ่งผู้ใดจะได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการชมรมเกินกว่า 2คราวติดต่อกันมิได้
ข้อ19 การพ้นจากตำแหน่งกรรมการ กรรมการของชมรมย่อมพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ในกรณีดังต่อไปนี้
1 ครบกำหนดออกตามวาระ
2 ลาออกโดยคณะกรรมการชมรมได้ลงอนุมัติแล้ว เว้นแต่ การลาออกเฉพาะตำแหน่งในข้อ 18 วรรคสาม
3 พ้นจากการเป็นผู้แทนสมาชิกสามัญซึ่งเป็นนิติบุคคล
4 ขาดจากสมาชิกภาพ
5 ที่ประชุมใหญ่มีมติให้ถอดออกจากการเป็นกรรมการ
6 ต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษ ในกรณีที่ผู้แทนของสมาชิกซึ่งเป็นนิติบุคคลตามข้อ 11 ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการตาย หรือพ้นจากตำแหน่งผู้แทนของสมาชิกรายนั้น ผู้แทนคนใหม่ของสมาชิกรายนั้นๆ จะเข้าแทนที่เป็นกรรมการแทนก็ได้
ข้อ 20 กรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งกรรมการก่อนครบกำหนดออกตามวาระ หากกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดออกตามวาระ ให้ที่ประชุมใหญ่เป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกสามัญเป็นกรรมการแทนได้ แต่กรรมการที่ได้รับเลือกตั้ง ตั้งแทนนี้ให้เป็นกรรมการอยู่ได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ที่ตนแทน
ข้อ 21 องค์ประชุมในการประชุมของคณะกรรมการชมรม การประชุมของคณะกรรมการของชมรม จะต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะนับว่าเป็นองค์ประชุม
ข้อ 22 มติที่ประชุมคณะกรรมการของชมรม นอกจากที่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับนี้ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุม ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
ในกรณีที่ประชุมคณะกรรมการของชมรมลงมติเป็นการฝ่าฝืนกฏหมายและข้อบังคับนี้ให้ถือว่ามตินั้นใช้บังคับมิได้
ข้อ 23 ประธานในที่ประชุม ให้ประธานกรรมการชมรมเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการชมรมไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานชมรมผู้อาวุโสตามลำดับปฏิบัติหน้าที่แทน ถ้าทั้งประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการชมรม ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมเฉพาะในการประชุมคราวนั้น
ข้อ 24 การประชุมคณะกรรมการของชมรม ให้มีการประชุมคณะกรรมการของชมรม อย่างน้อย 4 เดือนต่อครั้ง อนึ่งในกรณีจำเป็นประธานกรรมการชมรม หรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทน หรือกรรมการรวมกันได้ไม่น้อยกว่า 5 คน จะเรียกประชุมพิเศษขึ้นก็ได้
ข้อ25 การรับมอบงานของคณะกรรมการชมรม เมื่อมีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่แต่ละครั้งในกรณีครบวาระหรือคณะกรรมการชุดเดิมลาออกทั้งคณะ ให้คณะกรรมการของชมรมชุดใหม่เข้ารับมอบงานจากคณะกรรมการชุดเดิมของชมรมภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
ข้อ 26 อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการชมรม ให้คณะกรรมการของชมรมมีอำนาจหละหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. จัดดำเนินกิจการและทรัพย์สินของชมรมให้เป็นไปตามข้อบังคับและมติของที่ประชุม
2. เลือกตั้งกรรมการให้ดำรงตำแหน่งต่างๆในคณะกรรมการต่างๆของชมรม
3. วางระเบียบการในการปฏิบัติงานของชมรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
4. ว่าจ้าง แต่งตั้งถอดถอนที่ปรึกษาของคณะกรรมการของชมรม อนุกรรมการของชมรม เจ้าหน้าที่และพนักงานทั้งปวงในการทำกิจการเฉพาะอย่างหรือพิจารณาเรื่องต่างๆอันอยู่ในขอบเขตหน้าที่ของชมรม เพื่อให้การดำเนินงานชมรม เป็นไปโดยเรียบร้อย โดยอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการของชมรม
ที่ปรึกษาของคณะกรรมการชมรม อนุกรรมการของชมรม จะแต่งตั้งมาจากกรรมการหรือสมาชิกของชมรมหรือจากบุคคลภายนอกก็ได้
ข้อ 27 อำนาจหน้าที่ของกรรมการของชมรมในตำแหน่งต่างๆ อำนาจหน้าที่ของกรรมการของชมรมในตำแหน่งต่างๆ มีดังนี้
1. ประธานกรรมการของชมรม มีหน้าที่อำนวยงานให้การดำเนินงานในชมรมเป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบการในหการปฏิบัติงานของชมรม เป็นผู้แทนของชมรมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก และเป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการของชมรมตลอดจนในที่ประชุมใหญ่สมาชิก
2. รองประธานชมรม มีหน้าที่เป็น ผู้ช่วยประธานกรรมการชมรม และเป็นผู้ทำการแทนประธานกรรมการชมรม เมื่อประธานกรรมการชมรมไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
3. เลขาธิการชมรม มีหน้าที่ทำการโต้ตอบหนังสือ เก็บรักษาเอกสารต่างๆของชมรม เป็นเลขานุการในที่ประชุมคณะกรรมการของชมรม และที่ประชุมใหญ่ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่คณะกรรมการของชมรมจะได้มอบให้
4. เหรัญญิกชมรม มีหน้าที่รักษา และจ่ายเงินของชมรม ทำบัญชีการเงิน เก็บรักษาและจ่ายพัศดุของชมรม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่คณะกรรมการของชมรมจะได้มอบให้
5. นายทะเบียนชมรม มีหน้าที่จัดทำทะเบียนสมาชิกและทะเบียนต่างๆ อันมิใช่ทะเบียนเกี่ยวกับการเงินของชมรม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่คณะกรรมการของชมรมจะได้มอบให้
6. ปฏิคมของชมรม มีหน้าที่ต้อนรับ รักษาสำนักงานของชมรม รักษาความเรียบร้อยของสถานที่ รักษาสมุดเยี่ยม จัดสถานที่ประชุม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่คณะกรรมการของชมรมจะได้มอบให้
7. ประชาสัมพันธ์ชมรม มีหน้าที่เกี่ยวกับการโฆษณาเชิญชวนสมาชิกให้โฆษณากิจการและผลงานด้านต่างๆของชมรม ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นๆตามที่คณะกรรมการของชมรมจะได้มอบให้

ข้อ 28 ภายใต้ข้อบังคับแห่งความในหมวดนี้ ให้นำความในหมวดที่ 7 การประชุมใหญ่ มาใช้ โดยอนุโลม


หมวดที่ 7
การประชุมใหญ่
ข้อ 29 การประชุมใหญ่ การประชุมใกญ่ ให้หมายถึงการประชุมสมาชิกของชมรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี คือ การประชุมใหญ่ที่จะต้องให้มีขึ้นครั้งหนึ่งทุกระยะเวลา 12 เดือน
2. การประชุมใหญ่วิสามัญ คือ การประชุมใหญ่ครั้งอื่นๆ บรรดามี นอกจากการประชุมใหญ่สามัญประจำปีหรือการประชุมสมาชิกประจำเดือน
ข้อ 30 กำหนดการประชุมใหญ่ การกำหนดการประชุมใหญ่มีดังนี้
1. ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ภายในเดือนมกราคม ถึง มีนาคม
2. ถ้ามีเหตุใดเหตุหนื่งซึ่งคณะกรรมการชมรมมีมติเห็นสมควร หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด แสดงความจำนงที่จะให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ โดยทำการร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษร ยื่นต่อเลขาธิการของชมรม หรือกรรมการผู้ทำหน้าที่แทนเลขาธิการชมรม ให้คณะกรรมการของชมรมนัดประชุมใหญ่วิสามัญภายในกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ลงมติ หรือวันที่ได้รับหนังสือคำร้องขอหรือหนังสือบอกกล่าว จะต้องระบุข้อความแจ้งเหตุเพื่อการใดที่จะขอให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญนี้ด้วย
ข้อ 31 การส่งหนังสือบอกกล่าวนัดประชุม คณะกรรมการของชมรมจะต้องส่งหนังสือบอกกล่าว ถึงวัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุมใหญ่ไปให้สมาชิกทุกคนทราบ โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ที่อยู่ของสมาชิกที่ปรากฏว่าอยู่ในทะเบียบหรือส่งให้ถึงตัวสมาชิกก่อนกำหนดวันประชุมใหญ่ไม่น้อยกว่า 7 วัน
ภายใต้ข้อบังคับของความในวรรคแรก จะต้องจัดส่งสำเนาบันทึกรายงานการประชุมใหญ่ครั้งที่แล้ว (ถ้ามี )
ไปด้วย ในกรณีเป็นการนัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องแนบสำเนารายงานประจำปี และสำเนางบดุล รวมทั้งสำเนาบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่ประธานชมรมตรวจสอบแล้ว เพิ่มเติมไปด้วย
ข้อ 32 องค์ประชุมใหญ่ ในการประชุมใหญ่ของชมรม จะต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 15 คน จึงจะถือเป็นองค์ประชุม
ข้อ 33 กรณีที่การประชุมในครั้งแรกสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม การประชุมที่ได้เรียกนัดประชุมวันและเวลาใด หากล่วงพ้นกำหนดเวลานัดไปแล้ว 1 ชั่วโมง และยังมีสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม ถ้าการประชุมใหญ่คราวนั้น ได้เรียกนัดเฉพาะสมาชิก เพราะสมาชิกร้องขอก็ให้เลิกประชุม ถ้ามิใช่สมาชิกร้องขอ ให้เลื่อนการประชุมคราวนั้นไป และให้ทำการบอกกล่าว นัดประชุมวัน เวลา และสถานที่ประชุมใหญ่นี้อีกครั้งหนื่ง ภายในกำหนด 15 วัน นับตั้งแต่วันประชุมใหญ่คราวแรก ในการประชุมใหญ่คราวหลังนี้จะมีสมาชิกมากน้อยเพียงใด ก็ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุม
ข้อ 34 ประธานในที่ประชุม ให้ประธานกรรมการชมรม เป็นประธานในที่ประชุมใหญ่ ถ้าประธานกรรมการชมรม ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานชมรมผู้มีอาวุโสตามลำดับทำหน้าที่แทน ถ้าทั้งประธานกรรมการชมรมและรองประธานหอการค้า ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกรรมการคนหนึ่งคนใด ขึ้นเป็นประธานในที่ประชุม เฉพาะการประชุมคราวนั้น
ข้อ 35 วิธีออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ สมาชิกสามัญเท่านั้นมีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนนและสมาชิกคนหนึ่งๆ มีคะแนนเสียง หนึ่งเสียง
การออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ ให้ถือปฏิบัติ เป็น 2 กรณี คือ
1.โดยวิธีเปิดแผยใช้วิธีชูมือ
2.วิธีลงคะแนนลับ ให้ใช้วิธีเขียนบัตรลงคะแนนและจะกระทำได้เมื่อคณะกรรมการของชมรมเห็นสมควรหรือสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสามัญที่มาประชุมร้องขอ
ข้อ 36 มติของที่ประชุม นอกจากที่กล่าวไว้เป็นอย่างอื่นในข้อบังคับนี้ ให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุม ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มเติมขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ 37 กิจการอันพึงกระทำเป็นการประชุมใหญ่สามัญประจำปี กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี มีดังนี้
1. รับรองรายงานการประชุมใหญ่คราวก่อน
2. พิจารณารายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินกิจการของชมรมที่ผ่านมาในรอบปี
3. พิจารณาอนุมัติงบดุล
4. เลือกตั้งคณะกรรมการของชมรม (ในปีที่ครบกำหนด)
5. แต่งตั้งผู้สอบบัญชีของชมรม และกำหนดค่าตอบแทน**
6. เรื่องอื่นๆถ้ามี
ข้อ 38 กิจการอันพึงกระทำเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญ กิจการอันพึงกระทำในการประชุมใหญ่วิสามัญนั้นได้แก่ กิจการที่กระทำโดยอาศัยมติจากที่ประชุมใหญ่ แต่ไม่อาจหรือมีเหตุทำให้ไม่สามารถจัดทำได้ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี
ข้อ 39 กิจการอันพึงกระทำในการประชุมสมาชิกประจำเดือน กิจการอันพึงกระทำในการประชุมสมาชิกประจำเดือนนั้น ได้แก่ กิจการอันเกี่ยวกับการปฏิบัติธุรกิจทั่วไปของสมาชิกหรือกิจการชมรม นอกจากกิจการที่จำเป็นจะต้องกระทำในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีหรือการประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ 40 การจัดทำรายงานบันทึกการประชุม รายงานการประชุมคณะกรรมการของชมรม การประชุมใหญ่สมาชิกอื่นๆหรือการประชุมอนุกรรมการของชมรม ให้จดบันทึกไว้ทุกครั้งและต้องเสนอที่ประชุมเพื่อรับรองในคราวที่มีการประชุมครั้งต่อไป รายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองแล้ว สมาชิกจะขอดูได้ในวัน และเวลาทำการ

หมวดที่ 8
การเงิน เงินทุนพิเศษ และการบัญชีของชมรม
ข้อ 41 การจัดทำงบดุล ให้คณะกรรมการของชมรม ทำงบดุลปีละ 1 ครั้ง แล้วส่งให้ผู้สอบบัญชี ** และผู้สอบบัญชี จะต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จ

ประกาศจากชมรมร้าขายยาจังหวัดลำปาง

เรียน ผู้ประกอบการร้านขายยาทุกท่าน
เวปนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร การนัดหมาย และการแบ่งปันความรู้ระหว่างชมรมกับผู้ที่ใช้บริการ ดังนั้นทุกคนที่เป็นสมาชิกมีสิทธิเป็นเจ้าของ และไม่ควรกระทำสิ่งที่จะทำให้เกิดความเสียหายกับเวป

วัตถุประสงค์ชมรม

ชมรมร้านขายยาจังหวัดลำปาง

1. เพื่อประสานความสามัคคีและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นซึ่งกันและกันในทางวิชาการ ข่าวสาร การค้า เพิ่มพูนความรู้แก่สมาชิก

2. เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิกแก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ รวมทั้งเจรจาทำความตกลงกับบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการประกอบอาชีพของสมาชิก สอดส่องและติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดการค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่ออำนวยประโยชน์แก่การประกอบการของสมาชิก และเศรษฐกิจของประเทศ

อ่านต่อ

จริยธรรมการส่งเสริมการขายยา

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยา

DIS & APR CENTER
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านยา
ศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลลำปาง
โทรศัพท์ 054-223623 ต่อ 1151
การให้บริการ : จันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.00น.
โทรศัพท์ 054-223623 ต่อ 1140,1141
การให้บริการ : 24 ชม.